Pages

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

Assignment 7 : Abbreviations in Forms

1)  D.C.อักษรย่อของความว่า direct current = ไฟฟ้ากระแสตรง
2)  A.C.อักษรย่อขอคำว่า Alternating Current = กระแสไฟสลับ
3)  K.W.อักษรย่อของคำว่า kilowatt = แรงไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ หรือ 1,000 วัตต์
4)  K.V.อักษรย่อของคำว่า kilovolt : แรงดันไฟฟ้าเป็นกิโลโวลต์
5) R.สัญลักษณ์หรืออักษรย่อของคำว่า Resistance (ความต้าน)
6)  p.d. ( ไฟฟ้า, วิศว ) อักษรย่อของ polential difference = ความแตกต่างของศักย์
7)  อักษรย่อของคำว่า Capacitance = ความจุไฟฟ้า
8)  U,V อักษรย่อของคำว่า voltage = แรงดันไฟฟ้า
9)  P อักษรย่อของคำว่า power = กำลัง
10) f   อักษรย่อของคำว่า Frequency = ความถี่
11)  อักษรย่อของคำว่า Energy = พลังงาน
12) I   อักษรย่อของคำว่า current = กระแส
13) อักษรย่อของคำว่า Time = เวลา
14) ω อักษรย่อของคำว่า Angular velocity = ความเร็วเชิงมุม
15) L  อักษรย่อของคำว่า Inductive instance = อินดักแตนซ์


วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Assignment 4 Writing the definition

งานที่ 4.1


1.  A switch is a electrical devices which use in closing-opening the electrical circuit.
2. A Fuse is a electrical devices which used to prevent a short circuit in electrical circuit.
3. A rainproof is a electrical protection which used to prevent water from entering the electrical device or circuit.
4 .The overload is a electrical problems which the device is working beyond capacity.
5. A circuit is a electrical devices which the passage of electric current and is equipped with electrical devices.
6. A breaker is a electrical devices which used in control circuit.
7. The short circuit is a electrical problems which caused a short circuit due to circuit failure.
8. A switchboard is a electrical  devices which used to hold the switch control circuit.
9. A cable is a electrical devices which used as a conductor by an electric current to flow along the line.
10. A ground is a electrical devices which used to solve the problem of leakage of electricity.




งานที่ 4.2


1. Transistor are the key component in electronics.
2. They consist of three layers of silicon semiconductor.
3. All electronic systems consist of input, a processor and output,and usually memory.
4. The input receiver and converts information while the output convert and supplies electronically processed information.
5. The memory may not be present in simple system,but its function is the storage of information for the processor.
6. Continual developments in electronics give us increased reliability in electronic.
7. Electronics equipment controls microprocessors in,for example,weapon systems,cellular, radio,telephone systems and domestic appliances.
8. Electronics devices have improved our lives by providing high quality communication and entertainment.





งานที่ 4.3

Complete the text about electronics by choosing a word from the box.
(diodes , semiconductor , electrons , devices , germanium , transistors , integrated circuits , capacitors , silicon , integrated , resistor)
 
             Electronic circuits are built from basic components. Semiconductorare the most important components. They can be used to amplify the strength of a signal by converting a weak signal into a stronger one or to switch other circuits on or off. Resistor reduce the flow of transistor through the circuit, adding resistance to that circuit. Diodes function as electronic valves allowing current to flow in only one direction. Capacitor store electricity in order to smooth the flow. They can be charged and discharged. The two most common capacitors are ceramic and electrolytic. Most electronic devices useintegrated circuits (IC) or microchips. Inside an IC is a very small piece ofsilicon with circuits built in. Today, semiconductors are usually made of silicon which is cheaper and easier to manufacture than  germanium . Researchers are constantly trying to reduce the size of transistors in order to reduce the size of devices.                

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทำไมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องจักรไฮเทคโนโลยีจำเป็นต้องใช้เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า

Q: ทำไมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องจักรไฮเทคโนโลยีจำเป็นต้องใช้เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า
A: เพราะเครื่องมือและเครื่องจักรวันนี้ ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์สลับซับซ้อน ซึ่งความผิดปกติ
      ของไฟฟ้าอาจจะทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ทำงานผิดพลาดหรือเสียหายได้ ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ซึ่งจะ
      ส่งผลเสียตามมาอีกมาก

เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้ามีกี่ระบบ และระบบใดดีที่สุด

Q: เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้ามีกี่ระบบ และระบบใดดีที่สุด
A:   เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้ามีหลายระบบด้วยกัน เช่น ระบบเฟอร์โรเรโซแน้นซ์, ระบบ Servo Motor Control, ระบบ 
      Automatic
 Tap Change ซึ่งยังได้แยกออกเป็นระบบย่อยคือ Dynamic Electronics และ Static Electronics
       นอกจากนี้ยังมีระบบอื่นๆ อีก แต่ปัจจุบันจะพบน้อยมาก


     ระบบเฟอร์โรเรโซแน้นซ์จะมีความคงทนสูงเพราะมีอุปกรณ์น้อยชิ้น แต่มีข้อเสียคือรูปคลื่นสัญญาณจะมีความเพี้ยนไม่เหมาะสม
ที่จะนำไปใช้งานกับเครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อรูปคลื่นสัญญาณไฟฟ้า

     ระบบ Servo Motor Control จะใช้มอเตอร์เป็นตัวขับเคลื่อนให้แขนกลหรือแกนที่ยึดด้วยแปรงถ่านเคลื่อนที่ไปตามหน้าสัมผัส
ของขดลวด มีข้อเสียคือ การปรับแรงดันไฟฟ้าค่อนข้างช้า และสามารถสร้างสัญญาณรบกวนเข้าไปในระบบไฟฟ้าได้ อายุการใช้งาน
ของเครื่องขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมที่ใช้งาน และยังต้องการดูแลบำรุงรักษามากกว่าระบบอื่นๆ ซึ่งระบบนี้ไม่เหมาะกับเครื่องมือ
อิเล็กทรอนิกส์ความไวสูง เครื่องจักรไฮเทคโนโลยี แต่เหมาะสำหรับนำไปใช้กับระบบแสงสว่าง ระบบทำความเย็น และอุปกรณ์ไฟฟ้า
ธรรมดาทั่วไป ที่ไม่ไวต่อสัญญาณรบกวนและไม่ต้องการความเร็วในการตอบสนอง 

    
ระบบ Automatic Tap Change จะปรับแรงดันไฟฟ้าด้วยการเปลี่ยน Tap ของหม้อแปลงซึ่งมีทั้งระบบ Dynamic และ Static
โดยที่ระบบ Dynamic จะมีการเคลื่อนไหวที่หน้าสัมผัสของสวิตช์ในการเปลี่ยน Tap หม้อแปลงและตัดต่อที่แรงดันไม่เป็นศูนย์ นอก
จากจะทำให้ความเร็วในการปรับช้าแล้วยังจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนในขณะปรับแรงดันไฟฟ้าด้วย ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการใช้
งานคล้ายกับระบบ Servo ส่วนระบบ Static Electronics จะปรับแรงดันไฟฟ้าโดยการเปลี่ยน Tap หม้อแปลงด้วย
สวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ที่แรงดันไฟฟ้าเป็นศูนย์ (Zero Voltage Crossing) ทำให้การปรับแรงดันไฟฟ้าเป็นไปอย่าง
รวดเร็วและปราศจากสัญญาณรบกวน และต้องการ การบำรุงรักษาน้อยมาก ดังนั้นระบบ Static Electronics จึงเป็นระบบที่ดีที่สุดเหมาะสำหรับนำไปใช้งานกับเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ความไวสูงทุกชนิด

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า

Q: เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าและป้องกันสัญญาณรบกวน คือเครื่องอะไร และทำหน้าที่อย่างไร
A:
  คือ เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่โดยอัตโนมัติ ทำหน้าที่ป้องกันและแก้ไขปัญหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากระบบไฟฟ้า เช่นไฟตก ไฟเกิน ไฟกระโชก สัญญาณรบกวน และอันตรายจากฟ้าผ่า

ระบบน้ำยาแอร์ (น้ำยาแอร์ขาด)-แอร์ไม่มีความเย็น หรือ เย็นน้อย

  การทำงานเบื้องต้นของระบบแอร์รถยนต์

การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในระบบ
  1. คอมเพรสเซอร์ จะทำหน้าที่ดูดเอาสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอจาก อีวาโปเรเตอร์ หรือ แผงเย็น มาทำการอัดให้เป็นไอแรงดันสูงแล้วส่งออก ไปยัง คอนเดนเซอร์ หรือ แผงร้อนที่หน้ารถต่อไป
  2. คอนเดนเซอร หรือ แผงระบายความร้อนหน้ารถ จะทำหน้าที่ ควบแน่น ไอแรงดันสูง ที่ถูกส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ ให้กลายเป็นของเหลว โดยวิธีการการระบายความร้อนออก
  3. รีซีฟเวอร์ดรายเออร์ หรือ ที่เรียกว่า ดรายเออร์ จะทำหน้าที่ กรองและดูด เก็บเอาความชื้นในระบบไว้ ก่อนที่จะส่งไปยังแอ็กแพนชั่นวาล์ว 
  4. แอ็กแพนชั่นวาล์ว จะทำหน้าที่ฉีดสารทำความเย็นที่เป็นของเหลวให้เป็น ไอที่มีอุณหภูมิต่ำ แรงดันต่ำจนเป็นฝอยละออง
  5. อีวาโปเรเตอร์ หรือ ที่เรียกว่า คอล์ยเย็น เมื่อ ฝอยละอองหรือไอ ที่มีอุณหภูมิต่ำ แรงดันต่ำ มากระทบกับอลูมิเนียมจะเกิดความเย็นขึ้น แล้วก็จะใช้ พัดลมเป่าเอา ความเย็นออกมาภายนอก
          โดยในหลักการ ความร้อนจะวิ่งเข้าหาความเย็นอยู่แล้ว ดังนั้นจึงใช้ การเป่าลมเย็นออกมา แล้ว ดูดเอาความร้อนกลับไป เป็นการแลกเปลี่ยน ความร้อนกับความเย็น เมื่อความเย็นมากกว่า ความร้อน ก็ทำให้ห้องเย็น การทำงานจะเป็นวัฏจักรแบบเดิมต่อเนื่องไปเรื่อยๆิ อย่างนี้



การตรวจสอบปัญหาเบื้องต้นในแอร์รถยนต์ 
1. ระบบน้ำยาแอร์ (น้ำยาแอร์ขาด)-แอร์ไม่มีความเย็น หรือ เย็นน้อย
การตรวจเช็คทำได้โดย
  1. เปิดฝากระโปรงรถขึ้น
  2. สตาร์ทเครื่องยนต์
  3. เปิดแอร์
  4. มองหาตัวดรายเออร์ที่อยู่ใกล้ๆกับแฝงร้อนหน้ารถ
  5. สังเกตุด้านบนของตัวดรายเออร์จะมีจุดให้ตรวจสอบน้ำยาได้และจะมองเห็นเป็นฟองอากาศวิ่ง
  6. ถ้าฟองอากาศที่มองเห็น วิ่งบ้างเล็กน้อย แสดงว่า น้ำยาแอร์ในระบบมีเต็มครบ
  7. ถ้าฟองอากาศไม่มี มีแต่น้ำยาวิ่ง แสดงว่า ระบบระบายความร้อนไม่ได้ หรือ ระบาย ความร้อนไม่ดีพอ ให้ตรวจสอบแผงร้อนหน้ารถ ว่ามีฝุ่นเกาะมากหรือไม่ และให ้ใช้น้ำล้างฝุ่นที่อยู่กับแผงออก
  8. ถ้าฟองอากาศที่มองเห็นเยอะ แสดงว่า น้ำยาแอร์ในระบบเหลือน้อย ต้องเข้าร้านเติมน้ำยา
  9. ถ้ามองไม่เห็นฟองอากาศเลย แสดงว่า น้ำยาแอร์หมด ต้องเข้าร้านเพื่อตรวจหาจุดรั่วแล้วเปลี่ยนออก และแว็คคัมเติมน้ำยาใหม่
หมายเหตุ :ในการตรวจสอบน้ำยาแอร์โดยวิธีที่กล่าวมาแล้วจำเป็นจะต้องใช้น้ำ ฉีดหรือรดตรง แผงคอนเดนเซอร์ด้วย เพราะตามสภาพจริง ระบบจะระบาย ความร้อน ได้ดีตอนที่รถวิ่งดั้งนั้นเราจึง ต้องระบายความร้อนโดยการรดน้ำแทน