การทำงานเบื้องต้นของระบบแอร์รถยนต์
การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในระบบ
- คอมเพรสเซอร์ จะทำหน้าที่ดูดเอาสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอจาก อีวาโปเรเตอร์ หรือ แผงเย็น มาทำการอัดให้เป็นไอแรงดันสูงแล้วส่งออก ไปยัง คอนเดนเซอร์ หรือ แผงร้อนที่หน้ารถต่อไป
- คอนเดนเซอร์ หรือ แผงระบายความร้อนหน้ารถ จะทำหน้าที่ ควบแน่น ไอแรงดันสูง ที่ถูกส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ ให้กลายเป็นของเหลว โดยวิธีการการระบายความร้อนออก
- รีซีฟเวอร์ดรายเออร์ หรือ ที่เรียกว่า ดรายเออร์ จะทำหน้าที่ กรองและดูด เก็บเอาความชื้นในระบบไว้ ก่อนที่จะส่งไปยังแอ็กแพนชั่นวาล์ว
- แอ็กแพนชั่นวาล์ว จะทำหน้าที่ฉีดสารทำความเย็นที่เป็นของเหลวให้เป็น ไอที่มีอุณหภูมิต่ำ แรงดันต่ำจนเป็นฝอยละออง
- อีวาโปเรเตอร์ หรือ ที่เรียกว่า คอล์ยเย็น เมื่อ ฝอยละอองหรือไอ ที่มีอุณหภูมิต่ำ แรงดันต่ำ มากระทบกับอลูมิเนียมจะเกิดความเย็นขึ้น แล้วก็จะใช้ พัดลมเป่าเอา ความเย็นออกมาภายนอก
โดยในหลักการ ความร้อนจะวิ่งเข้าหาความเย็นอยู่แล้ว ดังนั้นจึงใช้ การเป่าลมเย็นออกมา แล้ว ดูดเอาความร้อนกลับไป เป็นการแลกเปลี่ยน ความร้อนกับความเย็น เมื่อความเย็นมากกว่า ความร้อน ก็ทำให้ห้องเย็น การทำงานจะเป็นวัฏจักรแบบเดิมต่อเนื่องไปเรื่อยๆิ อย่างนี้
การตรวจสอบปัญหาเบื้องต้นในแอร์รถยนต์
1. ระบบน้ำยาแอร์ (น้ำยาแอร์ขาด)-แอร์ไม่มีความเย็น หรือ เย็นน้อย
การตรวจเช็คทำได้โดย
- เปิดฝากระโปรงรถขึ้น
- สตาร์ทเครื่องยนต์
- เปิดแอร์
- มองหาตัวดรายเออร์ที่อยู่ใกล้ๆกับแฝงร้อนหน้ารถ
- สังเกตุด้านบนของตัวดรายเออร์จะมีจุดให้ตรวจสอบน้ำยาได้และจะมองเห็นเป็นฟองอากาศวิ่ง
- ถ้าฟองอากาศที่มองเห็น วิ่งบ้างเล็กน้อย แสดงว่า น้ำยาแอร์ในระบบมีเต็มครบ
- ถ้าฟองอากาศไม่มี มีแต่น้ำยาวิ่ง แสดงว่า ระบบระบายความร้อนไม่ได้ หรือ ระบาย ความร้อนไม่ดีพอ ให้ตรวจสอบแผงร้อนหน้ารถ ว่ามีฝุ่นเกาะมากหรือไม่ และให ้ใช้น้ำล้างฝุ่นที่อยู่กับแผงออก
- ถ้าฟองอากาศที่มองเห็นเยอะ แสดงว่า น้ำยาแอร์ในระบบเหลือน้อย ต้องเข้าร้านเติมน้ำยา
- ถ้ามองไม่เห็นฟองอากาศเลย แสดงว่า น้ำยาแอร์หมด ต้องเข้าร้านเพื่อตรวจหาจุดรั่วแล้วเปลี่ยนออก และแว็คคัมเติมน้ำยาใหม่
หมายเหตุ :ในการตรวจสอบน้ำยาแอร์โดยวิธีที่กล่าวมาแล้วจำเป็นจะต้องใช้น้ำ ฉีดหรือรดตรง แผงคอนเดนเซอร์ด้วย เพราะตามสภาพจริง ระบบจะระบาย ความร้อน ได้ดีตอนที่รถวิ่งดั้งนั้นเราจึง ต้องระบายความร้อนโดยการรดน้ำแทน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น